วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทำสุ่มไก่


การทำสุ่มไก่
ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
1. 
การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
1.3จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่ มีตาไผ่)ความกว้างและความยาวของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน ยาว 150 – 200 ซมกว้าง1.5–2.5 ซม. ตอกยาว ยาว ประมาน 8 กว้าง 1 - 2 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ ตอกยืนที่ใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบตีน
2.การสานสุ่มไก่
2.1 ใช้ตอกยาว สานเป็นวงหัว
2.2 นำ วงหัว มาสานกับตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว
แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือใช้ขวานตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่เท่ากัน
2.6 นำสุ่มไก่ที่สานเสร็จแล้วมาลนไฟเพื่อที่ทำให้ เศษเสี้ยวหนามของไม้ไผ่หายไป และทำให้สุ่มไก่ทนทานและมีอายุการใช้งานมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทําข้องใส่ปลา


การทําข้องใส่ปลา
อุปกรณ์ /ส่วนประกอบมีดังนี้
มีดโต้ พร้า ขวาน มีดตอก เหล็กแหลม สว่าน เลื่อย กบไสไม้ ,ไม้ไผ่ใหญ่พันธ์พื้นบ้าน อายุ 2 ปีขึ้นไป เนื้อนวล คัดเลือกเอาลำที่ตรงไม่มีแมลงเจาะ ,ไม้ทำขอบสามารถทำโค้งได้ , เชือกไนล่อน
ขั้นตอนการทำข้องใสปลา
1) ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซีก ๆ ขูดผิวเปลือกนอก และผ่าเนื้อส่วนในทิ้งให้เหลือความหนาพอเหมาะ
2)
จักตอกสาน เหลาตอกให้เรียบร้อย เน้นความเสมอเท่ากัน ไม่แข็งเกินไป ไม่อ่อนเกินไป
3)
เริ่มสานส่วนก้นของข้องก่อนแล้วตัดแต่งขอบให้เสมอกัน
4)
สานส่วนฝาปิด (งา) ให้พอดีกับปากข้องเข้าขอบด้วยไม้วงกลม
5)
เตรียมทำตีนข้องด้วยไม้เนื้อแข็งให้พอดี ใช้ไม้ไผ่ก็ได้
6)
จัดทำหูข้องด้วยหวายและใส่ลายตกแต่ง เก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไม้กวาดทางมะพร้าว


                          ไม้กวาดทางมะพร้าว
                  
                เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่สำคัญ
          1.
ทางมะพร้าวซึ่งเหลาแล้ว 
          2.
ไม้ไผ่ (ไผ่รวก)สำหรับทำด้ามไม้กวาดชนิดด้ามยาว
          3.
ไม้กระถินสำหรับทำด้ามจับ (เหลาให้ส่วนปลายแหลม)
          4.
เชือกไนล่อน,เชือกปอ

              วิธีทำโดยสังเขป
          1.
นำทางมะพร้าวที่เหลาแล้วประมาณ 1 กำมือมัดปลายด้ามจับด้วยเชือกไนล่อน
          2.
ใช้ไม้กระถินปลายแหลมใส่ไว้ตรงกลางของด้ามจับ เพื่อให้ไม้กวาดดูมีความหนา โดยไม่                         ต้องใช้ทางมะพร้าวจำนวนมาก
          3.
ตกแต่งด้ามจับให้สวยงามโดยเหลาปลายด้ามจับเพื่อให้สามารถจับได้ง่ายขึ้น
          
ไม้กวาดกลมด้ามยาว
          1.
นำทางมะพร้าวที่เหลาแล้วประมาณ 1กำมือมัดปลายด้ามจับด้วยเชือกไนล่อน
          2.
นำไม้กระถินปลายแหลมตอกเข้าไปตรงกลางของทางมะพร้าวด้านที่ปลายมัดไว้ เพื่อ                            เป็นการนำร่องสำหรับทำด้ามจับ
          3.
นำไม้รวกที่เป็นด้ามจับตอกซ้ำเข้าที่ไม้กระถินที่เป็นไม้นำร่อง และตกแต่งให้สวยงาม

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทําไม้กวาดดอกหญ้า


การทําไม้กวาดดอกหญ้า
      อุปกรณ์
1. เข็มเย็บกระสอบ
2. 
เชือกฟาง
3. 
ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
4. 
ดอกหญ้า
5. 
ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว
      วัตถุดิบไม้กวาดด้ามไม้ไผ่
ไม้ไผ่รวก
ไม้ปอหู ที่ใช้สำหรับทำด้ามไม้กวาด
-หวายหรือเถาวัลย์ที่ใช้มัดไม้กวาดให้แน่น
น้ำมันยางและชันเพื่อใช้ประสานดอกแขมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ดอกหญ้า
      วัตถุดิบไม้กวาดดอกหญ้าด้ามพลาสติก
-บล็อคพลาสติก (เต้า)
ด้ามพลาสติก (ท่อทีพี)
-เชือกเอ็นขนาด1.5-1.8
-ลวดก่อสร้าง
-จุกแขวน
ส่วนวัตถุดิบประกอบอื่นๆ ที่ใช้คือ
-แปรงทาสี
-ฆ้อนตอกตะปู ซึ่งก็หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

วิธีการทำ
1. นำดอกหญ้ามาตากแดดให้แห้ง
2.นำดอกหญ้ามาตีหรือฟาดกับพื้น เพื่อให้ดอกหญ้าดอกเล็ก ๆหลุดออกให้ เหลือแต่ก้านเล็ก ๆ แกะก้านดอกหญ้าออกจากต้นนำมามัดรวมกันประมาณ 1 กำมือ
3. ใช้เชือกฟางหรือเชือกในล่อนสอยเข้ากับเข็มเย็บกระสอบแล้วแทงเข้าตรง กลางมัดดอกหญ้า แล้วถักไปถักมาประมาณ 3-4 ชั้นพร้อมทั้งจัดมัดดอกหญ้าให้แบนราบ ใช้มีดตัดโคนรัดดอกหญ้าที่ถักแล้วให้เสมอเป็นระเบียบสวยงาม
4. ใช้ด้ามไม้ไผ่รวกเสียบตรงกลางหรืออาจจะใช้ต้นดอกหญ้า8-10 ต้น มัดรวมกันแทนไม้ไผ่รวกก็ได้ แล้วตอกตะปูขนาด 1 นิ้ว 2 ตัว เพื่อให้มัดดอกหญ้ากับด้ามให้แน่น
5. ใช้น้ำมันยางหรือชันผสมน้ำมันก๊าดทาโดยใช้แปรงจุ่มและทาบริเวณที่ตัว

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทําตะกร้าพลาสติกสาน



การทําตะกร้าพลาสติกสาน
ขั้นตอนการทำพลาสติกสาน
อุปกรณ์
 1. เส้นพลาสติก 5 ขีด
 2. กรรไกร
 3. หูถือกระเป๋า

วิธีการทำ
 1.ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ 20-30 ซม. จำนวนความกว้าง 11 เส้น จำนวนความยาว          23 เส้น
2. นำเส้นพลาสติกที่ตัดไว้โดยนำ 11 เส้นมาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)

3. นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานที่ละเส้น

4. เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่น ไม่ให้มีช่องว่าง

5. เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น

6. ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ

6.1 ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย

6.2 สานสลับเส้น

6.3 เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม

6.4 แล้วพับลงมาขัดกับลาย

7. เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของกระเป๋า เพื่อทำให้เป็นทรง


8. ใส่หูถือกระเป๋า ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย



วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การทำไซดักปลา



การทำไซดักปลา

ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบน ๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้)
         ไซต่าง ๆ มักไม่ต้องใช้เหยื่อเพราะจะดักปลาที่ต้องไหลในกระแสน้ำ เว้นแต่ไซกบที่ต้องมีเหยื่ออย่างลูกปลา ลูกปู

          วัสดุที่ใช้คือต้นไผ่ ปัจจุบันนี้หาง่ายมาก มีปลูกกันเต็มไปหมดทุกหัวระแหงต้นไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ขนาดกลางๆ อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่าย ส่วนไผ่ที่เอามาทำส่วนใหญ่จะเป็นไผ่สีสุก เพราะทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โดยไผ่ 1 ลำจะสามารถทำไซได้ 1ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไซด้วย"

      วิธีการสานไซ ผู้ทำมักเหลาเส้นตอกให้เล็กเป็นเส้นกลมยาวอย่างน้อย 2 ปล้องไผ่ เมื่อได้เส้นตอกตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกัน ก่อนจะพับให้กลับไปด้านหลัง แล้วใช้เส้นตอกอีกส่วนหนึ่งสานขวางสลับกันไปตั้งแต่ด้านบนถึงด้านล่าง การสานนิยมสานเป็น ลายขวางไพห้าระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงป่องแคบตามลักษณะของงาน ส่วนบริเวณตรงกลางหรือกลางค่อนไปทางปลายจะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าและนำออก

ประโยชน์ของไซดักปลา มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของคนในอดีตทุกบ้านจะทำไซไว้ใช้เองโดยจะนำไซไปดักไว้ตามคลองที่น้ำไหลผ่าน  ซึ่งสถานที่ดักก็จะมีอยู่ทั่วไปตามไร่ตามนา  ในฤดูฝนมีน้ำหลาก  ชาวบ้านออกไปทำไร่  ทำนา  ก็จะนำไซไปดักทิ้งไว้ด้วย  ก็จะได้ปู  ปลาต่าง ๆ  มากมาย  บางครั้งอาจยกไซไม่ได้เนื่องจากหนักเพราะดักปลาได้เกือบเต็มไซ  ปลาที่ได้ก็จะนำไปประกอบอาหารสำหรับทุกคนในครอบครัว  แบ่งปันให้เพื่อนบ้านบ้าง  โดยไม่ต้องซื้อขายกัน  ที่เหลือก็จะนำมาถนอมอาหารเช่น  ทำปลาร้า  ปลาเค็ม  ปลาย่าง  เก็บไว้กินยามฤดูแล้ง  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ที่สามารถหาปลากินได้อย่างเหลือเฟือ  เป็นที่มาของความเชื่อในเรื่องโชคราง  ชาวบ้านตำบลเพชรชมภู มีความเชื่อว่าไซ  เป็นเครื่องรางที่จะช่วยดักเงินทอง  โชคลาภได้  จึงมักจะนำไซไปแขวนไว้ตามหน้าร้านค้า  ประตูบ้าน  หรือใช้ผูกเสาเอกในพิธีลงเสาเอกบ้านเรือน  เพื่อความเป็นสิริมงคล

การทำกระติบข้าว

การทำกระติบข้าว
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน                           2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่         4.   กรรไกร
5. มีดโต้                                 6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)   8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก                    10. เครื่องกรอด้าย
                                             
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน
การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน
2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย
3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ “ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืน” การขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก 2 เส้นแล้วทิ้ง 2 เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
5. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
7. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก